คือ การจำการคำนวณในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อที่โปรเซสเซอร์ของคุณไม่จำเป็นต้องทำการคำนวณซ้ำทุกครั้งแต่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ RAM ขนาดต่างๆ ร่วมกันตัวอย่างเช่น RAM ต้องตรงกันหรือไม่คุณควรใช้ RAM ความเร็วเท่ากันหรือไม่?
ส่วนใหญ่แล้วในคอมพิวเตอร์ มักจะมีช่องใส่ RAM มาให้อย่างน้อย 2 ช่อง เมนบอร์ดในปัจจุบันนิยมให้มาถึง 4 ช่อง เรื่องที่หลายคนมักเข้าใจผิด คือ คุณไม่สามารถใส่ RAM คนละขนาดคู่กัน หรือไม่ก็ห้ามใส่ RAM คนละยี่ห้อพร้อมกัน
แต่นั่นไม่ใช่ "เรื่องจริง" ความจริงเราสามารถใส่ RAM คนละยี่ห้อ และคนละขนาด พร้อมกันได้ หรือแม้แต่ใส่ RAM ที่มีความเร็วแตกต่างกัน ก็สามารถทำได้เช่นกัน
แต่ทำไมหลายคนถึงไม่แนะนำ คือ RAM ไม่ได้ทำงานแยกกันอย่างอิสระ เมื่อมี RAM มากกว่าหนึ่งตัวในระบบ มันจะร่วมมือทำงานประสานกัน แน่นอนว่า RAM ที่มีสเปค, คุณสมบัติ, แรงดันไฟ และความเร็วในการทำงานเหมือนกัน จะสามารถทำงานร่วมกันได้ดีที่สุด ทำให้ระบบมีความเสถียรภาพ สามารถดึงประสิทธิภาพการทำงานของ RAM ออกมาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการเลือกที่ง่ายที่สุด ก็คือ การใช้ RAM รุ่นเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกันนั่นเอง
มีความเชื่อว่าต้องใช้ RAM เป็นเลขคู่ หรือเลือกที่จะใส่ RAM เพียงตัวเดียวเท่านั้น จริง ๆ ปัญหานี้ก็คล้ายคลึงกับในหัวข้อแรก เราไม่จำเป็นต้องใส่ RAM จำนวน 2, 4 หรือ 6 ตัว สามารถเลือกที่จะใส่ 1, 3 หรือ 5 ตัวก็ได้ ถ้ามันใส่ตัวเดียวไม่ได้ หรือใส่เป็นเลขคี่ไม่ได้ ผู้ผลิตคงไม่ผลิต RAM มาขายแบบเดี่ยว
การใส่ RAM 3 หรือ 5 ตัว ไม่ใช่เรื่องผิด หรือไม่สามารถทำได้แต่อย่างไร แต่ข้อจำกัดก็จะมีตามที่เรากล่าวไปแล้วด้านบน คือ มันจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ ตรงที่เมื่อเราใส่ RAM เป็นเลขคู่ มันจะทำงานในโหมด Dual-channel ซึ่งเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบดีที่สุด แต่ในกรณีที่ใส่เป็นเลขคี่มันจะทำงานในโหมด Single-channel แทน ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่าเท่านั้นเอง
ในกรณีที่เราใส่ RAM ทั้งหมด 3 ตัว ที่มีคุณสมบัติเข้ากันได้ สองตัวแรกก็จะทำงานในโหมด Dual-Channel ส่วนเศษที่เหลือจะทำงานในโหมด Single-Channel ซึ่งมันก็ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่แย่นะ
เป็นตำนานอย่างยาวนาน ไม่ใช่แค่บนคอมพิวเตอร์เท่านั้น แม้แต่ในเวลาผ่านมาเนินนานความเชื่อเหล่านี้ก็ถูกนำมาเล่าต่อให้กับผู้ใช้สมาร์ทโฟนด้วยเช่นกันว่า การเคลียร์ RAM ช่วยให้ระบบเร็วขึ้น ! การใช้พวกโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันในการล้างข้อมูลใน RAM จึงไม่ช่วยอะไร เสียเวลาไปเปล่า และหากโชคร้ายไปกว่านั้น ในโปรแกรมเหล่านั้น อาจมีมัลแวร์ (Malware)แฝงมาด้วยก็เป็นได้
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน น่าจะเคยเจอโปรแกรม หรือแอปพลิเคชัน ที่ใช้ชื่อประมาณว่า "RAM Boosters" หรือ "Memory Optimizers" กันมาบ้างแหละ คุณสมบัติในการทำงานของมันส่วนใหญ่ก็จะเป็นการล้างข้อมูลที่อยู่ใน RAM ออก เพื่อให้ได้พื้นที่ว่างบน RAM กลับคืนมา แล้วก็เคลมว่าการกระทำเช่นนี้ จะช่วยให้ระบบทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เรื่องจริง ในความเป็นจริงเราต้องคาดหวังว่า RAM จะมีข้อมูลที่จำเป็นอยู่นั้น เพื่อให้ระบบสามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วต่างหาก
หน้าที่ของ RAM ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นพื้นที่ว่าง แต่เป็นพื้นที่ที่ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้เก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงาน การไปลบข้อมูลเหล่านั้นออก เสียเวลาทั้งการที่ระบบต้องมาลบ และบรรจุข้อมูลกลับเข้าไปใหม่
คาดว่าเรื่องเล่านี้เกิดมาจากการที่เมื่อ RAM ถูกใช้จนเต็มความจุ มันจะทำให้ระบบทำงานได้ช้าลง สืบเนื่องมาจากระบบมีการเขียน, อ่าน, ลบ ข้อมูลบน RAM อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการทำงาน แต่อย่างไรมันก็ต้องเต็ม และการล้างมันก็ต้องเรียกข้อมูลใหม่อยู่ดี ทางแก้ของปัญหานี้ คือ การเพิ่มขนาดของ RAM เข้าไปในระบบต่างหาก นอกจากนี้ ระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ยังมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า "Pagin File" หรือที่เรียกกันว่า "Virtual Memory" เข้ามาช่วยด้วย โดยเมื่อความจุของ RAM เต็ม ระบบคอมพิวเตอร์จะทำการนำข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความจำอื่นที่มีความเร็วต่ำกว่าแทนบางส่วน เพื่อลดภาระการทำงานของ RAM ให้เองโดยอัตโนมัติ
RAM มีบทบาทที่สำคัญมากในการทำงานของโปรแกรม เวลาตรวจสอบความต้องการของระบบในการทำงานของโปรแกรม นักพัฒนาจึงนิยมระบุเอาไว้ด้วยว่า โปรแกรมนี้ต้องการ RAM อย่างน้อยเท่าไหร่ถึงจะพอ ? ถ้าวัดกันที่ความต้องการของตัวระบบปฏิบัติการ Windows แล้ว RAM 4 GB. คือ ขนาดขั้นต่ำที่ระบบสามารถทำงานได้ และ 8 GB. คือ ขนาดที่แนะนำสำหรับการใช้งานโดยทั่วไป แต่ถ้าเป็นคนทำกราฟิก, ตัดต่อเสียง, ตัดต่อวิดีโอ, เล่นเกม ฯลฯ ที่โปรแกรมที่ใช้มีความต้องการทรัพยากรสูง ก็ควรมองไปที่ RAM ขนาด 16 GB. เลย หรือ RAM 32 GB. ก็ไม่ได้ถือว่าเยอะเกินไป
มันก็ผิดสักเท่าไหร่ หากจะมองว่าการที่มี RAM เยอะ ๆ จะช่วยให้ระบบสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น แต่มันก็ไม่แค่เรื่องของขนาดเพียงอย่างเดียว มันมีคุณสมบัติอื่น ๆ ของ RAM ที่เราต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วย โดยปัจจัยนอกเหนือจากขนาดแล้ว สิ่งที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ RAM ก็คือความเร็วเหมือนกับ CPU ตัว RAM เองก็มีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเช่นกัน (Clock Speed) ยิ่งมีค่าตัวเลขสูงเท่าไหร่ ก็หมายความว่าการทำงานของ RAM ก็จะทำได้เร็วขึ้นด้วยนั่นเอง
RAM ธรรมดาทั่วไปจะมีความเร็วประมาณ 2,400 MHz - 3,000 MHz ในขณะที่ RAM ราคาสูงอาจจะมีความเร็วสูงถึง 5,333 MHz เลยทีเดียว แต่ราคาก็เอาเรื่องอยู่พอสมควร
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะพิจารณาซื้อ RAM ความเร็วสูงมาใช้งาน ควรตรวจสอบคุณสมบัติของเมนบอร์ดที่ใช้งานอยู่ด้วย ว่ารองรับ RAM ได้ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่ หากเราซื้อ RAM ที่มีความเร็วสูงเกินกว่าที่เมนบอร์ดรองรับ มันใช้งานได้ก็จริง แต่ก็จะทำงานได้ช้ากว่าที่มันควรจะทำได้ การใช้ RAM ที่มีความเร็วแตกต่างกัน มันจะทำงานได้เร็วสุดเท่ากับตัวที่ทำงานได้ช้าสุด ตัวอย่างเช่น ใส่ RAM ชนิด 2,400 MHz คู่กับแบบ 3,600 MHz มันจะทำงานที่ความเร็ว 2,400 MHz ทั้งสองตัว
สุดท้าย RAM ที่มีความเร็วสูงมีราคาที่แพงกว่า RAM ความเร็วปกติมาก และถึงแม้ว่า RAM ความเร็วสูงจะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่าก็จริง แต่หากงบประมาณมีจำกัด ควรพิจารณาดูด้วยว่า ในการใช้งานของเรา การเพิ่มความจุ RAM จะเป็นการจ่ายเงินที่คุ้มค่ากว่าการเพิ่มความเร็ว RAM หรือเปล่า