Metaverse (เมทาเวิร์ส) เป็นคำที่เริ่มรู้จักและคุ้นหูตั้งแต่เมื่อปลายปี 2021 เมื่อ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของบริษัทประกาศรีแบรนด์จากเดิม Facebook เป็น Meta เพื่อพาธุรกิจก้าวสู่ระยะต่อไปที่เป็นมากกว่าโซเชียลมีเดียพร้อมกับประกาศแนวทางการดำเนินงานใหม่ของบริษัท โดยมุ่งเน้นการสร้าง “Metaverse” หรือโลกเสมือนจริงแบบ 3D ที่ให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปทำงาน เล่น เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ Metaverse ถือเป็นวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต เพราะได้เปลี่ยนพื้นที่โซเชียลมีเดียแบบเดิมให้คนเข้ามาสังสรรค์ ทำงาน เล่นอวตาร หรือมีปฏิสัมพันธ์เหมือนจริงยิ่งขึ้น โดยพื้นที่ดังกล่าวยังคงอยู่ตลอดเวลา ไม่เสื่อมหายไปแม้ผู้ใช้งานจะเสร็จสิ้นกิจกรรมภายในพื้นที่แล้วก็ตาม แน่นอนว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าขนาดนี้ คงจะดิสรัป (Disrupt) วิถีชีวิต การทำงาน และโลกธุรกิจไป เป็นสิ่งที่น่าจะติดตาม ทำความเข้าใจสำหรับทุกๆ คน นับเป็นการปลุกกระแสให้โลกของ Metaverse ถูกจับตามองมากยิ่งขึ้น
Metaverse คือ การสร้างสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน จนกลายเป็น "ชุมชนโลกเสมือนจริง" ที่สามารถผสานวัตถุรอบตัวและสภาพแวดล้อมให้เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว โดยอาศัยเทคโนโลยี AR และ VR เข้ามาช่วยเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อให้กลายเป็นพื้นที่โลกเดียวกัน
AR หรือ Augmented Reality คือ การนำเทคโนโลยีมาผสานโลกแห่งความจริงและวัตถุต่างๆ เข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การสร้างตัวละคร Avatar ผ่านสมาร์ทโฟน, สร้างฟิลเตอร์กล้องถ่ายรูป, การเล่นเกม Pokémon GO, โฮโลแกรมภาพ 3 มิติ เป็นต้น
VR หรือ Virtual Reality คือ การจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา โดยอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง แว่นตา VR เพื่อจำลองการรับรู้ การมองเห็น และการได้ยินเสียง ในโลกเสมือนจริง เช่น จำลองการกระโดดร่ม, การขับเครื่องบิน, การเล่นเกมแนวต่อสู้ เป็นต้น
จุดเริ่มต้นของคำว่า Metaverse ปรากฏครั้งแรก ในหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง "Snow Crash" ของ Neal Stephenson นักเขียนชาวอเมริกัน ในปี 1992 ซึ่งเล่าเรื่องราวของโลกยุคอนาคต ที่มนุษย์และคอมพิวเตอร์ตอบโต้กันผ่านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่างๆ โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่โลกเสมือนจริงที่ล้ำสมัย เกินจินตนาการของคนยุค '90s กล่าวได้ว่านวนิยายเรื่อง Snow Crash ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจสู่การสร้างโลก Metaverse ในปัจจุบันหลากหลายบริษัทแล้ว ที่เปิดตัวบริษัทบนโลกเสมือนเพื่อให้พนักงานจากทั่วทุกมุมโลกที่มีอินเทอร์เน็ต เข้ามาทำงานด้วยกันในออฟฟิศเสมือนหรือ Metaverse
โลกแบบ Metaverse คือ โลกที่เราเชื่อมต่อตัวของเราเองเข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ (Multi-Technology) เพื่อช่วยให้เราเข้าสู่โลกเสมือนได้และได้ประสบการณ์ที่เหมือนจริงที่สุด โดยเทคโนโลยี 5 แกนหลัก ที่จะขาดไม่ได้เลย ได้แก่
1. Virtual World
เกม Animal Crossing คือ รูปแบบโลกเสมือนจริงแบบ 3D ที่ได้รับความนิยม
ขอบคุณภาพจากnintendo.com
Virtual World หรือ โลกเสมือนจริงคือ โลกที่ตั้งอยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต ไม่ใช่สถานที่ที่มีอยู่จริงทางกายภาพ ที่เชื่อมกันไว้ด้วยความเชื่อและเทคโนโลยีบางอย่าง โดยคำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ “สังคมเสมือน” หรือ “ชุมชนเสมือนจริง” (Virtual Community) ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเราทุกคนเลย แต่กลับเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ชุมชนเสมือนบน Facebook และโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ ที่เราเข้าไปพบปะ พูดคุย และมีปฏิสัมพันธ์กัน (โลกเสมือนจริงส่วนนี้จะเป็นโลกแบบ 2D เป็นหลัก) และมีชุมชนเสมือนที่ให้เราเข้าไปพบปะกันแบบ 3D เช่น ในโลกของเกมออนไลน์ ฯลฯ
Virtual World นั้นถือเป็นเทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานของโลก Metaverse เลยก็ว่าได้ เพราะหากไม่มีโลกเสมือนขึ้นมาก่อน ก็จะไม่มีสถานที่ที่ให้เราเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆ ไม่มีพื้นที่กลางสำหรับสร้างสรรค์ประสบการณ์เสมือนและเชื่อมต่อเทคโนโลยีในแกนอื่นๆ
2. Virtual Reality (VR)
Virtual Reality หรือ VR คือเทคโนโลยีที่จำลองสถานที่ขึ้นเพื่อให้เรารู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริง หรือ Virtual World ได้ สามารถโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของ สิ่งแวดล้อม ผู้คน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโลกเสมือนจริงได้ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น รีโมตคอนโทรล เมาส์ แป้นพิมพ์ ฯลฯ รวมไปถึงอุปกรณ์สวมใส่อย่างเช่น แว่น VR ถุงมือ ถุงเท้า ฯลฯ ที่ทำให้เราสัมผัสโลกเสมือนจริงได้
3. Augmented Reality (AR)
ภาพจากflashfly.net
AR หรือ Augmented Reality คือ เทคโนโลยีที่จำลองวัตถุ 3 มิติ มาอยู่ในโลกชีวิตจริงของเรา โดยเราจะสามารถมองเห็นได้ผ่านอุปกรณ์ เช่น แว่นตาหรือกล้องจากสมาร์ตโฟน ซึ่งหลายคนอาจคุ้นเคยกับ AR กันมาบ้างแล้วจากเกม Pokemon Go ที่เราสามารถมองส่องกล้องเพื่อมองหาตัวละครโปเกมอนในพื้นที่จริงอย่างสวนสาธารณะ ท้องถนน ทางเดิน ฯลฯ และปฏิสัมพันธ์กับวัตถุเหล่านั้นได้
ไม่เพียงเท่านั้น เทคโนโลยี AR ในปัจจุบัน ยังทำให้เราสามารถสัมผัสวัตถุเสมือนจริงผ่านอุปกรณ์สวมใส่ที่มีเซนเซอร์ได้ด้วย เช่น ถุงมือ ถุงเท้า/รองเท้า ฯลฯ โดยหลักการทำงานก็คือ อุปกรณ์จะใช้เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุทั้งภาพ เสียง สัมผัสของวัตถุ 3D ในโลกเสมือน แล้วสะท้อนเป็นภาพหรือสัมผัสผ่านอุปกรณ์สวมใส่หรือแว่นตา/คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ ฯลฯ
ตัวอย่าง AR ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น เราสามารถลองวางเฟอร์นิเจอร์ 3D ที่อยากได้ จัดวางในบ้านของเราดูว่าขนาดพอดีหรือไม่ ตกแต่งได้สวยเหมาะกับสไตล์แต่งห้องหรือเปล่า หรือเทคโนโลยี Assisted Reality เช่น ระบบนำทาง GPS ที่ต่อไปอาจจะไม่ต้องก้มลงดูสมาร์ตโฟนแล้ว แต่สามารถมองเห็น Navigator ป้ายบอกทาง ผ่านแว่นตาขับรถหรือกระจกหน้ารถยนต์ได้ และเริ่มมีการนำเอามาใช้เป็นสื่อโฆษณาหรือการแสดงสินค้าแบบ AR
4. Mixed Reality
ภาพจากdocs.microsoft.com
Mixed Reality หรือ MR (มีชื่อภาษาไทยเรียกว่า “ความเป็นจริงผสม”) คือ เทคโนโลยีที่ผสาน VR และ AR เชื่อมโยงระหว่างโลกทางกายภาพ (Physical World) เข้ากับโลกดิจิทัล (Digital World) เพื่อให้เราได้รับประสบการณ์อย่าง ‘ดื่มด่ำ’ (Immersive Experience) โดยเราจะรู้สึกได้ถึงวัตถุและสถานที่ต่าง ๆ จากทั้งสองโลก การกระทำของเราสามารถส่งผลถึงวัตถุในโลกเสมือนจริงและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ในโลกกายภาพก็สามารถส่งผลต่อวัตถุในโลกเสมือนได้ด้วย
สำหรับ Mixed Reality เราจะใช้งานได้ผ่านอุปกรณ์สวมใส่ที่มีเซนเซอร์ โดยอุปกรณ์ที่เริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นก็คือ แว่นตากึ่งโปร่งแสง (Semi-Transparent glasses) หรือ MR headsets ที่เรายังสามารถมองเห็นโลกทางกายภาพได้อยู่ แต่ก็มองเห็นวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมในโลกเสมือนได้ด้วย หรือ Assited Reality เช่น ระบบนำทางก็ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการใช้ Mixed Reality เช่นกัน
ภาพจากnews.microsoft.com
MR คือ เทคโนโลยีที่จะทลายเขตแดนระหว่างโลกทางกายภาพและโลกเสมือน ให้เราสามารถเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองโลกได้โดยไม่ต้องส่วนแว่น VR เข้า-ออก ปัจจุบัน เทคโนโลยี MR ถูกนำมาใช้ในหลากหลายวงการ เช่น ใช้พัฒนาเกม ใช้ในพิพิธภัณฑ์ ใช้ในการเรียนการสอน ใช้ฝึกปฏิบัติการทางไกล ใช้ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนโลกเสมือน ฯลฯ
5. Virtual Economies
Virtual Economy คือ ระบบเศรษฐกิจบนโลกเสมือนจริง มีอีกชื่อเรียกว่า “Synthetic Economy” (ระบบเศรษฐกิจสังเคราะห์) หมายถึง ระบบเศรษฐกิจบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีสินทรัพย์ที่ครอบครองได้ มีการแลกเปลี่ยน มีการกำหนดมูลค่าเช่นเดียวกับเศรษฐกิจบนโลกทางกายภาพ โดย Virtual Economy เกิดขึ้นมานานแล้ว เช่น การเติมเงินเข้าไปในเกมเพื่อซื้อไอเทม หรือการมาถึงของเงินตราดิจิทัล (Cryptocurrency) และ NFT ฯลฯ
Metaverse กับอินเทอร์เน็ต (Internet) ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตรงข้ามหรือจะเปรียบเทียบกันได้ แต่ Metaverse อาจกล่าวได้ว่าเป็นวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตมากกว่าจากเมื่อก่อนและในปัจจุบันเราจะท่องอินเทอร์เน็ตผ่านการ “เรียกดู” เว็บไซต์และคอนเทนต์ต่าง ๆ แต่สำหรับโลก Metaverse เราจะท่องอินเทอร์เน็ตด้วยการ “เข้าไปอยู่”
Metaverse หรือโลกเสมือนเป็นดินแดนที่ยังตั้งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต โดยใน Metaverse ผู้ใช้จะสามารถเข้าไปสำรวจและรับประสบการณ์จากโลกเสมือนได้ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันทั้ง Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR), AI, Mixed Reality ฯลฯ และสิ่งที่เราทำได้บนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ในปัจจุบัน เราก็สามารถทำได้บน Metaverse หรือทำได้มากกว่าด้วยซ้ำไป
แต่สิ่งที่หลายคนตั้งข้อสงสัย คือ Metaverse จะเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ใครก็สามารถเข้าถึงได้เหมือนกับอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน หรือจะเป็นเพียง ‘สถานที่’ หรือเซิร์ฟเวอร์บนโลกออนไลน์เท่านั้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อระบบอินเทอร์เน็ตพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก สามารถประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มีการเข้าใช้งาน Metaverse แพร่หลายและเข้าถึงได้ง่ายเหมือนกับโซเชียลมีเดีย คำตอบในข้อนี้จะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น
Metaverse จะกลายเป็นอีกตลาดสำคัญสำหรับธุรกิจและผู้บริโภค จากแต่ก่อนที่แบรนด์และธุรกิจเลือกทำการตลาดในเกม (Gaming Marketing) อาจจะเป็นการทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่ต่อไปเมื่อ Metaverse เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและมีคนเข้าไปใช้งานจำนวนมาก Metaverse จะกลายเป็นตลาดที่ไม่ว่าธุรกิจใดก็สามารถเข้าไปคว้าโอกาสทำการตลาดได้ พร้อมกับเข้ามาทำธุรกิจบนโลกเสมือนนี้ด้วย เช่น
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะไปถึงขั้นที่ทุกคนเข้าไปใช้งาน Metaverse ได้เหมือนที่เราใช้ Facebook ในปัจจุบัน และเศรษฐกิจบนโลกเสมือนจะเติบโตได้เหมือนกับการทำ E-commerce ในปัจจุบัน รัฐบาล บริษัท และองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญจะต้องช่วยกันสร้างระบบการเงินดิจิทัลที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะส่งเสริมการใช้งาน Cryptocurrencies, Non-Fungible Tokens (NFTs) และสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ให้สามารถใช้งานข้ามไปมาระหว่างสองโลกได้ ซึ่งระบบทั้งหมดจะดำเนินงานได้บนเทคโนโลยี Blockchain
Microsoft (MSFT)
Microsoft บริษัทซอฟต์แวร์สำนักงานที่ทุกคนรู้จักกันดีก็เปิดตัวโลกเสมือนอย่าง สำหรับ Microsoft Team โดยเทคโนโลยี Metaverse ที่ Microsoft มุ่งมั่นพัฒนา จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพื้นที่การทำงาน (Work Space) และวิถีการทำงานของเราในอนาคตอันใกล้
เราจะสามารถเข้าไปประชุมงาน รับการเทรนนิ่ง ทำงานร่วมกัน และได้รับประสบการณ์แบบ 360 องศาจากเทคโนโลยีโฮโลแกรมระหว่างการประชุมเสมือนจริง สำหรับการเข้าไปใช้งาน จะเข้าไปใช้งานผ่านอัตลักษณ์ตัวตนเสมือนจริงหรืออวาตาร์ (Avatar) เช่นเดียวกับ Horizon World ของ Meta