รู้หรือไม่?! การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากลูกค้าทั้งในรูปแบบออฟไลน์ หรือออนไลน์ หากมีการเก็บข้อมูลโดยไม่ถูกต้อง อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ได้ วันนี้จะมาแนะนำกัน เพราะในแต่ละประเทศก็จะมีนโยบายหรือมาตรการเพื่อออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน เพื่อป้องกันการถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวการคุ้มครอง “ข้อมูลส่วนบุคคล” ควรทำความเข้าใจและศึกษาอย่างละเอียดให้ความสำคัญควบคู่กันไป
Personal Data Protection Act (PDPA)คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่เข้ามากำหนดเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน
เนื่องจากปัจจุบันนี้มีการล่วงละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการให้ข้อมูลของลูกค้าโดยที่ลูกค้าไม่รู้ตัว หรือการที่มีเบอร์ต่างๆ ติดต่อเข้ามาหาเราโดยที่เราไม่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการขายประกัน แนะนำสินค้า ชักชวนดูดวง หรือผู้ใช้งานได้หลากหลายช่องทาง จากการสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Mobile-Banking การขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งและ GPS บนมือถือ หรือแม้แต่การเก็บคุกกี้จากการใช้บริการเว็บไซต์ต่างๆ จึงมีกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยข้อบังคับกฎหมาย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกนำไปใช้ หรือเพื่อประโยชน์โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม จะกลายเป็นกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA และอาจมีความผิดได้
ในความเป็นจริงแล้ว เราทุกควรรู้กฎหมายฉบับนี้ เพื่อจะได้ทราบถึงสิทธิ์ของตัวเอง และเพื่อไม่ให้ก้าวล้ำไปใช้ข้อมูลบุคคลอื่น สำหรับบริษัท หรือองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องศึกษาเชิงลึก และทำความเข้าใจกับมันมากที่สุด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
ถึงแม้กฎหมาย PDPA จะเป็นที่พูดถึงกันมาบ้างแล้ว แต่หลายบริษัทอาจจะยังไม่ได้ปฏิบัติตามอย่างครบถ้วน เช่น ยังไม่มีการจัดทำ Privacy Policy หรือยังไม่ได้ขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล หรือยังไม่แต่งตั้ง DPO เป็นต้น การที่บริษัทต่างๆ ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนตาม PDPA อาจนำไปสู่โทษ แพ่ง ซึ่งผู้ได้รับความเสียหายได้เงินค่าเสียหายกลับบ้าน พร้อมกับที่อาจได้โบนัสจากศาลเป็นค่าเสียหายเชิงลงโทษ โทษอาญา ที่อาจนำไปสู่โทษปรับ และกรรมการอาจต้องติดคุก โดยเฉพาะกรณีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว และโทษปกครองที่อาจถูกปรับเงินเข้ารัฐได้ง่ายๆ แค่เพราะไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ไม่มี Privacy Policy
อ่านบทลงโทษทางกฎหมาย PDPA แล้ว หลายคนอาจจะรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ กันบ้าง แต่อย่าพึ่งตกใจไป! เพราะ ภายใต้ PDPA เรายังสามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ได้ตามปกติอยู่ เพียงแต่ต้องปรับให้มีการเก็บเท่าที่จำเป็น และต้องแจ้งรายละเอียดในการเก็บ ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้เจ้าของข้อมูลทราบ ในบางกรณีอาจต้องมีการขอความยินยอมด้วย จึงจะถือว่าไม่ผิดหลัก PDPA
สำหรับข้อมูลที่คุณสามารถนำมาทำกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ได้แบบไม่ผิดกฎหมาย PDPA นั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่ได้จากเจ้าของข้อมูลหรือเรียกได้ว่าเป็นข้อมูลที่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของแล้ว ห้ามเก็บจากแหล่งอื่นโดยเด็ดขาด นอกจากเราจะต้องรู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปแล้ว เรายังต้องรู้จักและระมัดระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งในแง่ของการทำงาน สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติได้ PDPA จึงกำหนดโทษที่หนักขึ้นหากใช้ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง
การมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA เพื่อคุ้มรองสิทธิในการนำข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปใช้เพื่อผลประโยชน์ให้กับผู้ที่ถือข้อมูล ซึ่งสำหรับเจ้าของข้อมูลก็ต้องควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ นี้เช่นกัน เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยในข้อมูลของตัวคุณ สำหรับกลุ่มธุรกิจก็จะต้องเคารพต่อการนำข้อมูลของลุกค้าไปใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือหาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยพ.ร.บ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้
แปลโดย : kirz.com
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายความเป็นส่วนตัว ที่ลิงก์นี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้