Transparency and Traceability เทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญพร้อมรับความท้าทายบนโลกดิจิทัล
ในยุคดิจิทัลที่มีศักยภาพจะช่วยให้มนุษย์มีอิสระในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ระบบต้องสามารถตอบสนองทั้งในโลกความเป็นจริงและชีวิตในโลกไซเบอร์ได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย นอกจากนั้นระบบ IOTจะมาช่วยในการรับส่งข้อมูลที่ใช้เวลาน้อยลงโดยเฉพาะการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพในการการเก็บและแชร์ข้อมูล ในการตรวจติดตาม หรือตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาที่ไปของสินค้าในระบบซัพพลายเชนหรือเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนทางเทคโนโลยี
แต่ความกังวลต่อความปลอดภัยและความเสี่ยงจากการถูกใช้ข้อมูลส่วนตัวจนทำให้ไม่มีความโปร่งใสและกลายเป็นปัญหาต่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เนื่องจาก AI จะมีการเรียนรู้จากBig Data ทำให้หลายๆ องค์กรมีการเก็บ Data ทั้งถูกและไม่ถูกกฎหมายจึงทำให้หลายๆ ประเทศ พยายามผลักดันกฎหมายด้านความปลอดภัยของข้อมูล จนต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นโดยมีความโปร่งใสในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและต้องมีจริยธรรมดิจิทัล (Digital Ethics) ที่ดี ระบบเอไอที่ได้มาต้องสามารถติดตามและตรวจสอบได้ว่ามีการใช้งานอย่างไรจึงก่อให้เกิดเทรนต์ของเทคโนโลยีด้านความโปร่งใส (Transparency) และการติดตามตรวจสอบ (Traceability) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้
เทคโนโลยี Transparency and Traceability อยู่ในกลุ่ม People Centric คือ การมองเทคโนโลยีสำหรับผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ความโปร่งใส (Transparency) และการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนจริยธรรมทางดิจิทัลและปกป้องความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้รวมถึงองค์กรต่าง ๆ รับรู้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องมีการปกป้องและจัดการข้อมูลส่วนตัวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าของข้อมูล
ปัจจุบันได้มีการนำเอา AI (Artificial Intelligence) และ ML (Machine Learning) มาประยุกต์ใช้มากขึ้นในการช่วยตัดสินใจแทนมนุษย์ ดังนั้น จึงควรพัฒนาวิกฤตความเชื่อมั่นและผลักดันความต้องการด้านแนวคิดต่างๆพร้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความโปร่งใสและการตรวจสอบย้อนกลับที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรองรับกฎระเบียบและสนับสนุนแนวทางที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม สำหรับการใช้ AI จำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ (1) การออกแบบที่สอดคล้องกันตามหลักจริยธรรม (2) การเก็บรักษา การครอบครองและการควบคุมข้อมูลส่วนตัว (3) AI และ ML และผลลัพธ์ที่ได้ คือ กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เริ่มบังคับใช้งานไปทั่วโลก
Transparency and Traceability เป็นรูปแบบเทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องต่อการตรวจสอบและช่วยสร้างความโปร่งใสให้กับการทำงานขององค์กรต่างๆ แสดงให้เห็นถึงจริยธรรมทางด้านระบบดิจิทัลมากขึ้นผู้บริโภคสามารถที่จะไว้วางใจได้เพราะใช้เทคโนโลยีนี้มาเป็นตัวช่วยในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวและสร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น แม้กระทั่งการซื้อของอุปโภคบริโภค ถ้าเราเลือกได้ หากสินค้าที่ให้ข้อมูลแสดงถึงที่มาที่ไปได้เราก็จะซื้อสินค้านั้นมากกว่าแบรนด์อื่น อีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อีกทางหนึ่ง จากการสำรวจเมื่อปี 2018 พบว่าผู้บริโภค 75% หันมาเลือกซื้อสินค้าที่พวกเขาสามารถทราบถึงข้อมูลและความโปร่งใสของสินค้าแม้ว่าสินค้านั้นจะมีราคาสูงก็ตาม
Transparency มักจะมาคู่กับ Traceability แต่ในส่วนของ Traceability คือ การตรวจสอบย้อนกลับไปเพื่อดูที่มาที่ไป แต่ถ้าในมุมมองของผู้บริโภคนั้น Transparency หรือความโปร่งใสซึ่งจะมองทั้งระบบ ดังนั้น การทำข้อมูล Traceability จะอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิด Transparency สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัย
ยกตัวอย่างในภาคอุตสาหกรรมอาหาร การทำระบบ Transparency จะถูกบันทึกข้อมูลและรวบรวมในระบบซึ่งสามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบ QR code ติดบนสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับไปได้ ผู้บริโภคจะเลือกพิจารณาสินค้าจากความโปร่งใสของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อมากขึ้น จึงเป็นเทรนด์สำคัญที่มีผลต่อการผลิตสินค้าและเป็นช่องทางที่ผู้ผลิตจะสามารถใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้
Traceability คือ ความสามารถในการสอบและติดตาม ไม่ว่าการผลิต กระบวนการ และการกระจาย โดยในระบบการสืบค้นย้อนกลับประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ กระบวนการติดตาม และกระบวนการสืบค้นย้อนกลับ การติดตาม (Following) คือ ระบบที่จะสามารถติดตามได้ว่าสิ่งที่สนใจนั้น ไปอยู่ ณ ที่ใด การสืบค้นย้อนกลับ (Tracing) คือ ความสามารถสืบได้ว่าสินค้าที่มีปัญหาผลิตขึ้นเมื่อใด จากสายการผลิตไหน และรับวัตถุดิบมาจากแหล่งไหน
การค้าในตลาดโลกจะมีการแข่งขันกันอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ ระบบการสืบค้นย้อนกลับ ประเทศส่วนใหญ่ได้กำหนดเป็นกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้าให้ประเทศผู้ส่งออกต้องนำไปปฏิบัติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการให้มีการนำระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อรองรับสถานการณ์ทางการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การนำระบบการสืบค้นย้อนกลับมาประยุกต์ใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภค กล่าวคือ สำหรับผู้ผลิตสามารถลดปริมาณการเรียกคืนสินค้าที่มีปัญหา สามารถสืบค้นย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และช่วยลดต้นทุนการเรียกคืนสินค้า เป็นการรับประกัน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่าจะได้บริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัยและที่สำคัญเป็นการปฏิบัติให้ตรงตามกฎระเบียบการค้าของประเทศคู่ค้าที่กำหนดไว้ ส่วนประโยชน์สำหรับผู้บริโภค จะช่วยลดความเสี่ยงที่ต้องบริโภคสินค้าที่มีปัญหา ทราบแหล่งที่เป็นที่มาของวัตถุดิบที่มาประกอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและสนับสนุนการควบคุมคุณภาพอีกทั้งเป็นเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ถูกระบุว่าไม่ปลอดภัยได้อีกด้วย
แปลโดย kirz.com