Switch คืออะไร มีทําหน้าที่การทำงานอย่างไร


2023-05-29 16:09:25

Switch คืออะไร

Switch คือ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ ประกอบด้วยพอร์ตเชื่อมต่อหลายๆ Port ใช้ในระบบ network เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นโดยใช้ผ่านสายแลน (UTP Cable) หรือสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางในการส่ง-รับข้อมูล ในรูปแบบIP ซึ่งสวิตช์จะแจกจ่ายสัญญาณให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นเครือข่ายอย่างทั่วถึง อีกทั้งช่วยป้องกันการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองเครื่องจากการขัดขวางอุปกรณ์อื่นๆ ในเครือข่ายเดียวกันเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้รั่วไหลไปในเครือข่ายเน็ตเวิร์คนอก


หน้าที่ของ switch 

หน้าที่หลักๆ ของ switch ประกอบด้วย

  • รับและส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่ายให้สื่อสารกันได้
  • เพิ่มจำนวน Port ให้กับระบบเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว เพื่อรองรับจำนวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มากขึ้น
  • คอยเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วย เพื่อจัดระเบียบและตรวจสอบข้อมูลในภายหลัง
  • สามารถใช้เป็นสะพานเพื่อเชื่อมต่อระบบ Network จำนวน 2 เครือข่ายเข้าหากัน


การทำงานของ switch

หลักการทำงานของ switch จะแบ่งการทำงานเป็นชั้นสื่อกลางการส่งข้อมูลในรูปแบบระบบ 2 ชั้น (Data Link Layer 2) โดย switch มีหน้าที่ในการแบ่งแยกการส่งเส้นทางภายในบริเวณของinternet switch แต่ละเครือข่าย และการคัดกรองข้อมูลที่สำคัญที่สุด ให้ถูกจัดหมวดหมู่เป็นลำดับแรก เพื่อส่งให้ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณที่จุดหมายปลายทางได้ไม่ทับซ้อนกัน


การใช้งาน switch

สวิตซ์เป็นตัวกลางทำให้เส้นทางการส่งข้อมูลแต่ละ Port ที่ทำงานร่วมกับ Router ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตแต่ละจุดทั่วพื้นที่ แต่ switch เป็นสะพานเชื่อมให้อุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถรองรับสัญญาณได้หลากหลายจำนวน และเข้าถึงสัญญาณทั่วถึง


สวิตช์มีกี่ประเภท

Network Switch นั้นมีหลาย ซึ่งแต่ละรูปแบบถูกสร้างมาเพื่อรองรับการใช้งานที่ต่างกัน ในที่นี้จะขอเอ่ยถึงประเภทที่คุ้นหูให้ดูกัน ว่าแต่ละชื่อหมายถึงสวิตช์แบบไหนบ้าง


Unmanaged Network Switch

เป็น Switch แบบมาตรฐานที่ราคาถูก แต่มีฟังก์ชั่นที่ง่ายต่อการใช้งาน หน้าที่หลักๆ คือ ใช้เพิ่มจำนวน Ethernet Port ให้กับระบบเครือข่ายข่าย Unmanaged Switch มักไม่จำเป็นต้องถูกตั้งค่าผ่านอุปกรณ์อื่นๆ อีกทีหนึ่ง เพราะแค่เสียบก็ใช้งานได้เลย เป็นประเภทที่นิยมใช้งานในออฟฟิศขนาดเล็ก หรือพื้นที่ Commercial ที่ไม่ได้ใช้ระบบเครือข่ายมากมาย


รูปจาก Cisco.com


Managed Network Switch

Switch ประเภทนี้ใช้ควมคุม และบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพขึ้น ปรับแต่งการใช้งานได้หลากหลาย อิสระ อีกทั้งมีฟังก์ชั่นที่แอดวานซ์ขึ้น โดยมี Built-in Dashboard หรือ Interface ในตัว ช่วยให้ User ที่เป็น Admin หรือแผนกไอที มีเครื่องมือสำหรับใช้ monitor ข้อมูลรับส่งในระบบเครือข่ายทั้งหมด ขณะที่ Traffic กำลังวิ่ง ความสามารถอื่นๆ  คือ การกำหนดการเข้าถึง, การทำ Port Mirroring, การทำ Redundancy, การจัดค่าความสำคัญของอุปกรณ์ และอื่นๆ โดย Managed Switch สามารถออกแบบให้ทำงานแบบ Manual ที่มีความยืดหยุ่น หรือ Smart Switch ที่ใช้งานได้ง่ายกว่า ก็ทำได้ ถือว่าเหมาะกับองค์กรระดับใหญ่ ที่ต้องการความ High Availability มั่นคงของระบบ


รูปจาก Cisco.com


PoE Network Switch

สวิตช์ประเภทนี้ สามารถส่งผ่านพลังงานให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับตนผ่านสาย RJ-45 แทนที่จะส่งได้แต่ข้อมูลเพียงอย่างเดียว ถ้าอุปกรณ์ของคุณส่วนใหญ่เป็นแบบ PoE-enabled แนะนำให้เลือกสวิตช์ประเภทนี้เพื่อการใช้งานที่ยืดหยุ่น และลดจำนวนสายไฟ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ปลั๊กไฟจำกัด แถมช่วยให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อมีความเสถียรมากขึ้น


รูปจาก Cisco.com



Stackable Network Switch

สวิตช์ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง หรือจะทำงานร่วมกับ Stackable Switch ตัวอื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดจำกัด และทางเลือกในการเชื่อมต่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเชื่อมต่อกัน สวิตช์แต่ละตัวจะถูกรวมเข้าทำงานด้วยกันเสมือนเป็น Switch ตัวใหญ่ตัวเดียว ประสิทธิภาพที่ได้จะขึ้นกับว่าเราเชื่อมต่อเข้าด้วยกันกี่ตัว


รูปจาก computernetworkingnotes



ประเภทของ Switch

  • L1-Switch สวิตซ์ประเภทชั้นสื่อกลาง การส่งข้อมูลในรูปแบบระบบ 1 ชั้น (Data Link Layer 1) ทำหน้าที่คอยส่งข้อมูลทุกๆ เส้นทางที่มีความเร็วต่ำ
  • L2-Switch สวิตซ์ประเภทชั้นสื่อกลาง การส่งข้อมูลในรูปแบบระบบ 2 ชั้น (Data Link Layer 2) เป็นสวิตซ์ตัวเบิกช่องทางการส่งสัญญาณ 2 สายขึ้นไปทำหน้าที่คอยส่งข้อมูลทุกๆ เส้นทางที่มีความเร็วการส่งสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า L1-switch
  • L3-Switch สวิตซ์ประเภท network switch layer ที่สามารถส่งสัญญาณให้กับอุปกรณ์ปลายทางหลายๆ เครื่องในรูปแบบหมวดหมู่ และเป็นกลุ่มได้อย่างมีระเบียบ


Switch แบบ Layer 2 กับ Layer 3 คืออะไร

  • Layer 2 Switch ทำงานบนเลเยอร์ดาต้าลิงค์ (OSI Layer 2) และใช้ที่อยู่ของ MAC address เพื่อกำหนดเส้นทางผ่านที่เฟรมจะถูกส่งต่อ ใช้เทคนิคการสลับโดยใช้ฮาร์ดแวร์เชื่อมต่อ และส่งข้อมูลในเครือข่าย หากมีการเชื่อมต่อกับเส้นทางจำนวนมาก จำเป็นต้องมี hub คอยแจกจ่ายสัญญาณข้อมูลให้กับจุดหมายปลายทางอีกที
  • Layer 3 Switch มีความเร็วในการเปิดเส้นทางของตัว switch ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้การทำงานใน Network มีประสิทธิภาพสูง โดยรวบรวมเอาฟังก์ชั่นของเราเตอร์มาเสริมการทำงานของตัว Switch อีกทั้งทำให้การเปิดเส้นทางเครือข่ายภายในระบบ Lan ทำได้เร็วขึ้น


ข้อดีของ Switch มีหลักๆ 3 ข้อดังต่อไปนี้

  • สวิตซ์มีระบบการจัดการด้วยตัวเองแบบมีระเบียบ เพราะตัวระบบมีการจดจำ IP address ของแต่ละอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รองรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สวิตซ์สามารถจัดส่งข้อมูลได้อย่างแม่นยำ
  • สวิตซ์เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบเทคโนโลยีที่การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้ทุกพอร์ต ทำให้สวิตซ์สามารถรองรับเชื่อมต่อเครือข่ายเน็ตเวิร์คได้รวดเร็ว
  • สวิตซ์มีการจัดลำดับการกรองข้อมูลแบบเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้เป็นอุปกรณ์ที่สามารถส่งข้อมูลแบบจัดเรียบเรียงได้อย่างเป็นระเบียบ


ประโยชน์ของ Switch ต่อองค์กรของคุณ

  • ทีมงาน IT การมีสวิตซ์ช่วยเพิ่มสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้การทำงานของพนักงานไอทีสะดวกขึ้น ในการช่วยเพิ่มเครือข่ายสัญญาณให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้หลากหลายแพตฟอร์ม
  • ทีมงาน Content creators การมีสวิตซ์เพื่อสร้างช่องทางเครือข่ายต่อระบบการทำงานของพวกเขา ช่วยให้การดำเนินงาน มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
  • ทีมพัฒนา Software developers นักพัฒนาสามารถต่อยอด software ในตัวการทำงานของให้มีกระบวนกระทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต และอีกทั้งยังช่วยพัฒนาระบบการจัดการของตัว switch ให้สามารถรองรับการเข้าถึงอุปกรณ์ชนิดอื่นๆได้หลากหลายรูปแบบ


ที่มา : cloudflare.com, spiceworks.com